Bright Green Summit

งาน Bright Green Summit จัดโดย American Chamber of Commerce (Amcham) in Sweden ร่วมกับ Mundus International เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2022 ที่กรุงสตอคโฮล์ม ได้สรุป Highlight สำคัญจากเวที COP27 เร่งสานต่อ Climate action รวมผู้นำ นักการทูต นักธุรกิจ นักวิจัย นักพัฒนาความยั่งยืน นักลงทุน นักสื่อสาร มาวางแผนสร้างความร่วมมือเพื่อ: 

  • รับประกัน Net Zero ทั่วโลกภายปี 2050 จำกัดอุณหภูมิเพิ่มขึ้นให้ต่ำกว่า 1.5 องศา
  • ปรับตัว ธุรกิจเพื่อปกป้องชุมชนและที่อยู่อาศัยทางธรรมชาติ
  • ระดมทุน ที่จะส่งผลดีต่อการจัดการปัญหา Climate change
  • ขจัดอุปสรรค ระหว่างประเทศเพื่อให้สามารถทำงานข้ามพรมแดนร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์


  • เน้นความร่วมมือระดับโลก สนับสนุนกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา / กลุ่มเปราะบาง ให้สามารถรับมือกับ Climate Change ได้ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดแค่จากประเทศใดประเทศหนึ่ง 
  • ข้อตกลงจาก COP27 มีการจัดกองทุนชดเชยความเสียหายหรือการสูญเสีย (Loss & Damage Funds) กลุ่มประเทศร่ำรวยภาคี 200 ประเทศ ให้คำสัญญาช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา
  • ช่วยกลุ่มเปราะบางให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะภาคการเกษตรและอาหาร เน้นสนับสนุนการทำวนเกษตร 
  • สงครามยูเครน-รัสเซีย เร่งให้เกิดการพัฒนาด้านพลังงานอย่างก้าวกระโดด 
  • เร่งการเปลี่ยนผ่านแรงงานอุตสาหกรรมพลังงานเชื้อเพลิงให้มาทำงานเพื่อพลังงานสะอาดมากขึ้น
  • มุ่งสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศ สื่อสารสองทางเพื่อเข้าใจ ลงมือทำ และเคารพสัญญา
  • อียิปต์จะติดตามผล Nationally Determined Contribution (NDC) โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ เปิดให้ทุกภาคมีส่วนร่วม สร้างความยืดหยุ่นในการต่อรอง และติดตามประเมินผล Adaptation funds
  • เป็นครั้งแรกที่ COP จัด Youth Pavilion และให้ทุนสนับสนุน Youth Climate Justice funds 
  • เน้นสนับสนุนการสร้างเครือข่ายกลุ่ม Climate Startups 
  • ใช้ฐานข้อมูล (Database) สร้างความโปร่งใสและเพิ่มความหวังสู่การเปลี่ยนแปลง 
  • ลงทุนในการศึกษา ให้คนได้รู้ถึงไลฟ์สไตล์ที่สร้าง Impact ด้วยข้อมูลคะแนนคาร์บอน
  • ตัวอย่าง Doconomy เครื่องมือคำนวนค่าคาร์บอนร่วมมือกับ Mastercard ให้แบรนด์สื่อสารความยั่งยืนกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลุ่มสร้างคาร์บอนของโลกถึง 60%  
  • ย้ำต้องรักษา Momentum นี้ไว้ เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดความตระหนักถึง Climate change & actions รวมผู้นำมาด้วยกัน ขณะเดียวกันต้องสร้างจากฐานล่างขึ้นมาบนด้วย 

มุมมองระดับประเทศ Green Transition

1.เยอรมนี : Ambition & Solidarity

  • ตั้งเป้าหมาย Climate Neutral ภายในปี 2044 
  • มองสงครามรัสเซีย-ยูเครน เป็นตัวจุดชนวนเร่งให้เยอรมันต้องพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 
  • ลดการนำเข้าพลังงานและก๊าซจากรัสเซีย (ปัจจุบันนำเข้า Hydrogen จากแคนาดาและออสเตรเลีย) ทั้งนี้เยอรมันต้องการผลิตพลังงานในประเทศเอง มุ่งใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนให้ได้ 80%
  • ออกกฏหมายใหม่แล้วกว่า 20 ฉบับ เพื่อกระตุ้น สร้างฐานการผลิต Hydrogen Infrastructure / Wind power plants 
  • เน้นการทำ R&D โดยเฉพาะวิศวกรรมพลังงานที่เยอรมันเก่งเป็นทุนเดิม
  • เยอรมันสนับสนุนบริษัทสวีเดน Northvolt เพราะเทรนด์ผู้บริโภคต้องการสินค้า Green ทำให้ภาคธุรกิจรู้สึกว่าที่ทำอยู่มาถูกทางแล้ว
  • เยอรมนี ยึดหลัก Slogan
    • 1.ทะเยอทะยาน (Ambition) ให้ทุกฝ่ายลงมือและตกลงร่วมกัน 
    • 2.สมัครสมาน (Solidarity) สร้างเครือข่ายร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนา โดยได้สนับสนุนอียิปต์ แอฟริกา และอินโดนีเซียเป็นที่เรียบร้อย 

 2.อินโดนีเซีย : “Burden sharing not burden shifting”

ประกาศ 7 ประเด็นสำคัญที่จะพัฒนา ได้แก่ 

  • ลดการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า 
  • ลงทุนกว่า 6.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อ Climate change
  • จัดการควบคุมไฟป่า 
  • เป็นฐานผู้ผลิต Biofuels (B20 >> B30) 100% Plant-based fuels 
  • เป็นฐานส่งออกแร่สำคัญสำหรับ EV นั่นคือ “Nickel” 
  • พัฒนาพลังงานสะอาด

งาน G20 Summit จัดขึ้น ณ บาหลี ทำให้เกิด Climate Transaction ที่ใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ สามารถทำให้อินโดฯ เข้าสู่เป้าหมายพัฒนาสู่ความยั่งยืนเร็วขึ้นกว่า 7 ปี ย้ำให้ภาคเอกชนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหา Climate Change 

ปัจจุบันได้มีการออกกฏหมายที่เอื้อให้กับผู้ประกอบการต่างชาติมาลงทุนเรียบร้อย

3.ออสเตรเลีย 

  • จะส่ง National Determined Contribution (NDC) ฉบับใหม่เดือนมิถุนายน 2023  
  • ตั้งเป้าเป็นประเทศเจ้าภาพ COP31
  • ลงทุน 20 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ใน EV Grid 
  • เน้นให้กลุ่มชนเผ่ามีสิทธิ์เสียงมากขึ้น 
  • เป็นฐานแหล่งแร่สำคัญสำหรับผลิตแบตเตอรี่  

4.ฝรั่งเศส

  • เน้นการลดการปล่อยคาร์บอนต่อประชากรให้ต่ำที่สุด
  • เพิ่มฐานพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Plants)

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ตัวอย่าง 1: Skanska บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของสวีเดน

  • เน้นการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ (Public procurement) ต้องกำหนดเกณฑ์ด้าน Climate เข้ามาด้วย เพื่อหาผู้ผลิตที่เหมาะสมจริงๆ ภาครัฐและนักการเมืองต้องผลักดันภาคธุรกิจให้เห็นทิศทางที่ชัดเจน
  • รวบรวมฐานข้อมูล Database ทั้ง Value Chain เพื่อ
    • 1.ดูว่ามีการปล่อย Emission ที่ไหนบ้าง
    • 2.ติดตามดูว่าแต่ละกระบวนการใช้วัสดุอะไร
    • 3.มีการใช้พลังงานไปเท่าไหร่ เพื่อนำไปพัฒนาทั้งระบบให้ดีขึ้น

ตัวอย่าง 2: Hummeltorp บริษัทรีไซเคิลวัสดุก่อสร้าง

เน้นความโปรงใสร่วมมือกันในทั้งระบบ ใช้เวลาในการวิจัยกว่า 5 ปี

ค้นพบการเพิ่มการรีไซเคิลขยะจากการก่อสร้างได้จากเดิม 16% สู่ 96% ภายใน 6 ปี


อนาคตการขนส่งเคลื่อนย้าย (Mobility)

ตัวอย่าง 1

  • สายการบิน Lufthansa Airlines ยึดเป้าหมาย Paris Agreementงดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี 2050 โดยเป็นสายการบินแรกที่ใช้หลักวิทยาศาสตร์ SBTI : Science-based Target Initiatives ในการประเมินเป้าหมาย
    • แม้การบินจะเป็นภาคส่วนหลักที่ปล่อย CO2 โดยตรง แต่ทางสายการบินก็พยายามแก้ไขส่วนอื่นๆ เช่น Packaging Recycling / Food waste / Noise reduction นอกจากนี้มีการออกใบ Sustainability Certificates ให้กับองค์กรต่างๆ เพื่อรายงานเกี่ยวกับ Carbon Emission Report และให้รางวัลเป็นแรงจูงใจ
    • ภายในปี 2030 ออกเครื่องบินใหม่กว่า 200 ลำ ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ถึง 30%

ตัวอย่าง 2 

  • บริษัท Go-e ผู้พัฒนาที่ชาร์จไฟฟ้า EV แบบพกพา จากบริษัทออสเตรีย สามารถชาร์จรถไฟฟ้าที่ไหนก็ได้ เน้นการใช้นวัตกรรม และให้ความสำคัญในขั้นตอนพัฒนาสินค้า (Product Development)

ตัวอย่าง 3

  • Talga Group บริษัทของออสเตรเลีย พัฒนาแบตเตอรี่ขั้วบวกด้วยแร่กราไฟท์ มีเหมืองแร่กราไฟท์ที่เมือง คิรูนา ทางตอนเหนือของสวีเดน ทำงานร่วมกับทีมนักวิจัยเคมีจากแคมบริดจ์ เป็น Modern Supply chain ที่จะสร้างให้เกิดที่ชาร์จ EV ที่เร็วขึ้นด้วย Vertical Integration การวางกลยุทธ์พื้นที่พัฒนาและใช้นวัตกรรม

การสื่อสารเพื่อพัฒนาการขนส่งเคลื่อนย้าย (Mobility) ให้ดีขึ้น ต้องเน้นปรับที่แนวคิดพฤติกรรม (Behavioral Mindset) ตั้งแต่ในระดับบริษัทไปจนถึงผู้ใช้ และเน้นกดดันภาครัฐและคู่แข่งให้ปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกัน


Early insights into companies’ EU taxonomy work

นักศึกษาปริญญาโทจาก Stockholm School of Economics เล่าถึงงานวิจัยเกี่ยวกับ EU Taxonomyที่เป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างภาคการเงิน (Financial) กับความยั่งยืน (Sustainability) ช่วยให้นักลงทุน สนับสนุนใน Green Economy ได้ง่ายขึ้น

6 เป้าหมายของ EU Taxonomy

  1. การลดผลกระทบทางสภาพอากาศ (Climate change mitigation)
  2. การปรับตัวตามสภาพอากาศ (Climate change adaptation)
  3. การปกป้องน้ำและทรัพยากรทางน้ำ
  4. การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
  5. การควบคุมมลพิษ
  6. การปกป้องรักษาระบบนิเวศน์

งานวิจัยนี้สัมภาษณ์บริษัท 16 แห่ง ผลคือ

  • มีการทำงานร่วมกันมากขึ้นระหว่างฝ่ายการเงินและความยั่งยืน
  • ทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและความยั่งยืนมีความต้องการให้ Finance ถูกปรับใช้อย่างเต็มที่
  • มีการใช้เครื่องมือที่หลากหลายเพื่อรายงานเกี่ยวกับ Taxonomy แต่ทุกบริษัทต้องการรวบรวมระบบ สู่ Integration
  • ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อความร่วมมือข้ามสายงาน ทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  • การแบ่งงานเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ โดยแบ่งตามความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย
  • ช่องโหว่จากงานวิจัยพบว่ามีบาง Case ที่บริษัทสามารถช่วยเหลือคนได้จริงๆ แต่ว่าไม่ได้ถูกบัญญัติอยู่ใน Taxonomy
  • การบังคับใช้การประเมินทำให้บริษัทเห็นความสำคัญของ Sustainability มากขึ้นซึ่งเป็นข้อดีต่อ Sustainability Department ที่จะได้เงินทุนสนับสนุนต่อไป

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digitalisation)

  • การเปรียบเทียบข้อมูลการรายงานด้าน Sustainability ของหลายบริษัทเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะแต่ละฝ่ายเก็บข้อมูลกระจัดกระจายในระบบที่ต่างกัน ควรมีการสร้างมาตรฐานร่วมกัน เช่น Cloud Services / Digital passport / Automation / Blockchain technology ในการเก็บข้อมูลทั้งระบบ Value chain 
  • ควรมี Guideline Data ให้กับ Supply chain โดยยึดหลัก Record, Report, และ Reduce 
  • Sustainability Report ควรนำมาเปรียบเทียบกับ Financial Report 
  • ปัจจุบันการทำสัญญาและร่างกฏหมายควรคำนึงถึงด้าน Sustainability และ Digitalisation ด้วย 
  • ผู้ค้าปลีกเป็นผู้เล่นสำคัญในการผลักดันสู่ความยั่งยืน เพราะใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากที่สุด และสื่อสารได้โดยตรง ควรมีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ เพื่อนำข้อมูลผู้บริโภคมาใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนา ย่อยข้อมูลให้ง่าย สื่อสารให้ตระหนัก เพราะว่าเรากำลังเผชิญกับวิกฤตด้าน Climate 
  • ใช้พลังของคนรุ่นใหม่ Gen Z ที่เติบโตมากับโลกดิจิทัลแบบเต็มตัว กดดันผู้ค้าปลีกให้สร้างโมเดลธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยยึดหลัก Data ที่สามารถติดตามวัดผลได้แบบรูปธรรม

สินค้าผู้บริโภค (Consumer goods)

การสื่อสาร Communication 

  • อย่าสบประมาทผู้บริโภค เพราะปัจจุบันผู้คนใส่ใจเรื่อง Sustainability มากขึ้น หน้าที่คือควรให้ความรู้ผู้บริโภค ขณะเดียวกันเสาะหาทางออกในการพัฒนาความเป็นไปได้อื่นๆอีก
  • ก่อนจะสื่อสารอะไรออกไป ต้องมั่นใจจริง ผลงานที่ทำต้องผ่านกระบวนการมามากและจับต้องได้

Green Hushing หมายถึง เมื่อบริษัทมีเป้าหมายขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน แต่ไม่ประกาศออกมา เพียงเพราะ

  • 1.กลัวถ้าทำไม่ได้ตามเป้าหมายจะดูไม่ดี 
  • 2.กลัวว่าจะดูเป็นภาคลักษณ์​ “Green washing”
    • สิ่งที่ต้องทำคือ ควรสร้างความน่าเชื่อถือด้วยความโปร่งใส 
    • มี Data Backup และเปิด Mindset เรียนรู้ผ่านการร่วมมือกัน

ตัวอย่าง Coca Cola 

ความท้าทายหลักของบริษัท โค้ก: 

1.กระบวนการผลิตส่งผลต่อ Climate change 
2.บรรจุภัณฑ์ (Packaging) 
3.น้ำ – โค้กใช้น้ำในการผลิตมาก

เคยเกิดการประท้วงที่อินเดีย 2010 ที่ไม่มีน้ำดื่ม แต่เอามาทำเป็นโค้ก โดยสิ่งที่โค้กทำคือ หาทางอื่นๆ ร่วมมือแก้ปัญหาโลก ในการทดแทน ฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ จนสามารถคืนน้ำสะอาด = น้ำที่เอามาผลิตได้แล้ว (Coke Sweden) 

“เราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของทางออกเช่นเดียวกัน” ย้ำเรื่องความโปร่งใส เป็นสิ่งสำคัญ​

อนาคตของบรรจุภัณฑ์ (Packaging) 

ตัวอย่าง บริษัท Absolut พัฒนาขวดกระดาษได้แล้ว และทำงานต่อยอดร่วมกับ P&G / Coke / L’oreal วัสดุขวดแก้วจริงๆแล้วไม่ยั่งยืน ด้วยน้ำหนักที่หนัก ทำให้ลำบากในการขนส่งหรือการคืนขวด ใน US มีเพียง 21% ที่คืนขวดแก้วกลับมารีไซเคิล นอกนั้นกลายเป็นขยะทิ้งไป

คำถามคือ มีแพคเกจเพียงพอต่อการรีไซเคิลในตลาดมากพอแล้วหรือยัง? 

การใช้กระดาษเป็น Package สามารถช่วยลด Carbon Emission ได้มากกว่า 50% และง่ายต่อการขนส่ง ขวดกระดาษ Absolut Vodka นี้ผลิตโดยชุมชนทางตอนใต้ของสวีเดน ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงแต่ Cap ฝาปิดที่ทางบริษัทกำลังพัฒนาด้วยวัสดุไฟเบอร์ (Fibre)

คำถามต่อมาคือขวดจะดูดี Premium พอสำหรับผู้บริโภคหรือเปล่า? บริษัทเชื่อว่าผู้บริโภคพร้อมแล้ว ไม่เน้นมองว่าเราเสียอะไรไปแต่มองว่าเราได้อะไรในระยะยาว ควรให้ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ และให้ผู้บริโภครู้สึกดีไปกับมัน  


การค้าและการลงทุน (Trade & Investment)

  • กดดันให้ผู้บริโภคที่ไม่สนับสนุนความยั่งยืนต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น
  • กำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับลูกค้า กำหนดรูปแบบข้อตกลงทางการเงินใหม่ โดยการกู้ยืมต้องเชื่อมโยงเพื่อ Sustainability มากยิ่งขึ้น 
  • สถาบันทางการเงินต้องปรับตัวด้านเทคโนโลยี 
  • โฟกัสว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้างนอกเหนือแค่การดูสถานการณ์ที่เป็นอยู่
  • เปิดทางให้มีการลงทุน Green Innovation + Climate Finance มากขึ้น 

บทส่งท้ายจากผู้แทนสวีเดนสู่ UNFCCC

ปิดท้ายด้วยคุณ Mattias Frumerie, Head of Delegation to UNFCCC, Ministry of Environment ตัวแทนจากสวีเดนที่ได้เข้าร่วมงาน COP27 ได้ออกมาแชร์ว่า   

“ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นไปตามผลที่ตั้งเป้าไว้ แต่ก็มีผลลัพธ์ออกมาเพื่อพัฒนาต่อยอด” 

โดยสรุป Highlights จากงานดังนี้ 

1.มุ่งสร้างโครงการลดผลกระทบทางสภาพอากาศ (Mitigation program) เร่งสนับสนุนร่วมมือเครือข่ายระดับโลก 

2.ส่งเสริมจับมือกับประเทศที่กำลังพัฒนา ลดปัญหา Climate Change ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3.สร้างความตระหนัก การสูญเสียและผลกระทบ (Loss & Damage) จาก Climate Change เพราะจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และน่าเป็นห่วง เชื่อว่าเกิดการสูญเสียแต่ละครั้งมากถึง 50% ของ GDP ประเทศ 

4.อัดฉีดเร่งการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate finance) จะสร้างให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างไร บางประเทศที่กำลังพัฒนาปฏิเสธความร่วมมือ เนื่องจากยังไม่พร้อม ต่อจากนี้ต้องเน้นการกระจายเงินให้ถูกที่ ผ่านเกณฑ์ Criteria เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่แท้จริงสู่ COP28 

Key message:

ความเร่งด่วนมาพร้อมกับโอกาส ร่วมมือสร้างเครือข่ายแข็งแกร่ง

ประเทศกำลังพัฒนาต้องการความช่วยเหลืออย่างไร

นี่เป็นโอกาสของภาคธุรกิจที่จะร่วมมือ

ต้องมั่นใจว่าทุกฝ่ายจะมีจุดยืนในการขับเคลื่อน Climate Transition

แม้ยากก็ต้องทำ เปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายกล่าวถึงข้อจำกัดที่เผชิญอยู่

และเรามาหาทางออก ขับเคลื่อนไปสู่ COP28 ไปด้วยกัน

Mattias Frumerie, Head of Delegation to UNFCCC, Ministry of Environment

%d bloggers like this: