พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม และการดักจับ+กักเก็บคาร์บอน

ชม Webinar เรื่อง พลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม และการดักจับ+กักเก็บคาร์บอน จัดโดย TNIU Norway และ สอท. กรุงออสโล โดยครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยน พูดคุยระหว่างสถานทูตไทย กรุงออสโล บริษัท ปตท. สผ. และ บริษัทบางจาก เนื้อหาจะเป็นอย่างไร TNIU ได้สรุป Highlights มาให้แล้ว 

Key takeaways: 

รู้หรือไม่?! พลังงานเป็นภาคส่วนที่ปล่อยแก๊ซเรือนกระจกมากที่สุด การปล่อยคาร์บอนในไทยก็มาจากพลังงานเป็นหลักเช่นกัน ต้องคำนึงถึง “Energy Trilemma” หรือความสมดุลทางพลังงานทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 

  • Security: ความมั่นคง เพียงพอไหม ไฟติดไหม? 
  • Affordability: จะทำยังไง ให้พลังงานเข้าถึงทุกกลุ่ม 
  • Sustainability: จะใช้งานได้ต่อไปอย่างไรให้ยั่งยืนและไม่สร้างปัญหาระยะยาว

มีการจัดอับดับ Energy Trilemma Index โดยในปี 2022 มีการจัดอันดับดังนี้ : สวีเดน #1 / เดนมาร์ก #2 / ฟินแลนด์ #3 / นอร์เวย์ #6 / ไทย #49 (คลิกที่ชื่อแต่ละประเทศเพื่อศึกษาเพิ่มเติม)

นอรเ์วย์ ริเริ่มหาทางออก แม้ส่งออกน้ำมันสูงอันดับต้น แต่ก็มีมาตรการควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมจากภาครัฐที่เข้มงวด ทำให้นักลงทุนไว้วางใจ โดยบริษัทบางจาก ได้ร่วมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงทุนในบริษัท OKEA ของประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี CCS มาแล้วกว่า 20 ปี (ตั้งแต่ค.ศ. 1996) และเป็นผู้นำโครงการ Northen Lights (การขนส่งคาร์บอนมากักเก็บที่นอร์เวย์) เป็นที่แรกของโลก  

CO2 receiving terminal at the premises of Naturgassparken industrial area in the municipality of Øygarden in western Norway.
ภาพจาก https://norlights.com

เทคโนโลยี Carbon Captured and Storage (CCS) คืออะไร? 

คือการนำคาร์บอนที่จะปล่อยไปสู่ชั้นบรรยากาศกลับคืนเข้าสู่ใต้ดินเหมือนเดิม (Loop CIrcular) เป็นหนึ่งวิธีช่วยเปลี่ยนผ่านทางสภาพภูมิอากาศ ที่สำคัญต้องตรวจการกักเก็บไม่ให้เกิดการรั่วไหลคาร์บอน 

ทั้งนี้ CCS ยังคงเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 

ประเทศไทยมีของดี โอกาสของไทยก้าวสู่ CCS Hub 

  • ธรณีวิทยาแถบอ่าวไทย มีความเหมาะสมในการทำ CCS มาก (ประเมิณโดย Global CCS Institute)
  • ในงาน COP26: ไทยประกาศจุดยืนมุ่งสู่ Carbon Neutral ในปี 2050  และเป็น Net Zero ในปี 2065 
  • CCS ได้รวมเป็นหนึ่งในแผนนโยบายของประเทศไทยแล้ว 
  • ปตท.สผ มีพันธกิจชัดเจน ในปี 2565 ได้ริเริ่ม “โครงการอาทิตย์” นำร่องทดสอบการกักเก็บคาร์บอน CCS ในอ่าวไทยและวางแผนการนำคาร์บอนไปจัดการใช้อย่างเหมาะสมต่อไป 
แหล่งที่เหมาะสมในการกักเก็บคาร์บอนทั่วโลก (สีม่วงและแดงคือเหมาะสมมาก)

ปรับเพื่อรอด … 

นโยบาย CBAM : Cross-Border Adjustment Mechanism จากงาน COP27 เป็นเทรนด์ใหม่ของโลก 

ถ้าไม่จัดการคาร์บอน “มีปัญหาแน่นอน”  เพราะหากคิดทำธุรกิจส่งออกกับยุโรป ต้องจ่ายค่าปรับภาษีคาร์บอน (Carbon Taxes) ในราคาเดียวกับบริษัทที่ผลิตในยุโรป เป็นการบังคับใช้มาตรการ EU ทางอ้อมทั่วโลก ให้เร่งหาทางจัดการกับคาร์บอนของตนเองและแสดงความรับผิดชอบ หากจัดการไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องซื้อเทคโนโลยีจากประเทศผู้นำไป 

ตัวอย่าง Startup จากบริษัท บางจาก Winnonie (วินโนหนี้) คือการบริการเช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ลดปัญหาหนี้สินของพี่วินมอเตอร์ไซค์ที่เวลาถอยรถคันใหม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มสูง แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษบนท้องถนน 

Startup จากบริษัทบางจาก “Winnonie”

ขอบคุณวิทยากรผู้ทรงวุฒิ

  • นางกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 
  • นายญาณเดช ศรีพาณิชย์ CCS Business Lead, Carbon and Energy Solutions Division บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 
  • นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล 
  • นางสาวกนกนภัส สุขสง เจ้าหน้าที่ค้นคว้าวิจัยและประสานงานโครงการ Thailand and Nordic Countries Innovation Unit (TNIU) ประจำนอร์เวย์ ผู้ดำเนินรายการ

.

ติดตามข่าวสารนวัตกรรมพัฒนาสู่ความยั่งยืน: TNIU Thailand Nordic Countries Innovation Unit 

%d bloggers like this: