สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม และ Thailand-Nordic Countries Innovation Unit (TNIU) ร่วมกันจัดงานเสวนาในหัวข้อ Digital Transformation for Sustainability เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างดิจิทัลและนวัตกรรม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายระหว่างภาครัฐและเอกชนไทย-สวีเดน ในโอกาสที่คณะผู้บริหารหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนไทยที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร “The Cullinan: The Making of the Digital Board Batch 2” จัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เดินทางมาสวีเดน

ผู้จัดงานได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของสวีเดน เข้าร่วมเป็นวิทยากรจำนวน 4 ท่าน 2 ท่านจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ Vinnova และ Business Sweden 1 ท่านจาก ม. KTH และ 1 ท่านจากบริษัท R-evolution ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวในเครือบริษัท Hexagon


Highlights ประเด็นที่น่าสนใจภายในงาน
- Futures thinking and building capacity for digital transformation in the Swedish society
- Profitably investing, scaling and partnering for a digital sustainable future
- Swedish Research Effort for Digital Transformation
- Business Sweden
- เกี่ยวกับ Epicenter มากกว่า Co-working Space สู่การสร้าง Ecosystem แห่งนวัตกรรม
Futures thinking and building capacity for digital transformation in the Swedish society
โดยคุณ Ms. Jenny Engström, Program Manager Public Sector and Civil Society Transformation จาก Vinnova
– We need to innovate how we innovate : การพัฒนาเชิงระบบ System Innovation ทำให้การขับเคลื่อนนวัตกรรมตอบรับการเปลี่ยนแปลงทั้ง Digital และ Sustainable Transition ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำให้ทุกภาคส่วนมองเห็นปัญหา ความเชื่อมโยงที่ชัดเจน นำไปสู่เป้าหมายที่เป็นภาพเดียวกัน เกิดเป็นระบบนิเวศแห่งความร่วมมือและสนับสนุนกันได้ ไม่ทับซ้อน

– What if ? VS. What’s next? : นำแนวคิด Strategic Foresight ที่ให้ความสำคัญกับ Weak signals และการตั้งคำถามท้าทายระบบปัจจุบันมาใช้วางแผน ต่างจากการ Forecast ที่มักโฟกัสกับเทรนด์ใหญ่และคาดการณ์อนาคตจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก

– Shaping future with Speculative design : ค้นหาอนาคตที่ต้องการด้วยการทำให้รู้สึก จับต้องได้จริงในปัจจุบันโดยใช้เครื่องมืออย่างการ Prototype from the future ที่ช่วยวิเคราะห์ scenarios ในแบบต่างๆ
เพิ่มเติม > https://www.vinnova.se/en/m/emerging-innovations/
Profitably investing, scaling and partnering for a digital sustainable future
– บ. R-evolution ในเครือ บ. Hexagon เป็น Venture capital และบริษัทพัฒนาด้านGreentech ของสวีเดน ที่มีจุดเด่นที่การนำDigital technology ที่เรียกว่า Smart digital realities โดยเทคโนโลยีนี้เป็นCore competencyของHexagon บริษัทแม่ที่ช่วยจัดเก็บข้อมูล นำข้อมูลไปประมวลภาพเป็น Real-time digital twin เพื่อวิเคราะห์นำไปสู่การตัดสินใจต่างๆในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

– ปัจจุบันมีโปรเจคที่ลงทุนในหลายประเทศ เช่น การอนุรักษ์หญ้าทะเลเพื่อสร้าง Blue carbon credit ใน Bahamas, Solar farmในสเปน เป็นต้น และยังมีความสนใจในอีกหลายธุรกิจด้าน Greentech โดยในไทย ทางบริษัทมีความสนใจร่วมลงทุน/partnerในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าดิบชื้น (Rainforest) พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง (Blue carbon) หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่คุณ Javier Norro อีเมล javier.norro@hexagon.com
เพิ่มเติม > https://r-evolution.com/

Swedish Research Effort for Digital Transformation
โดย Ms. Ines De Miranda De Matos Lourenço, Phd researcher in Intelligent Systems dept จาก KTH มหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน
– วิทยากรมีความเชี่ยวชาญเรื่อง Autonomous system, robotic และ Human-Robot interaction สนใจในการร่วมมือการหน่วยงานของไทย โดยเฉพาะด้านการศึกษาเพื่อเผยแพร่ความรู้และงานวิจัย

– ตัวอย่าง Research initiativesที่น่าสนใจในสวีเดน เช่น Digital Futures ของ KTH ที่เน้นการเชื่อมโยง ให้ทุนกับMultidisciplinary researchที่แก้ปัญหาสังคมทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน, Wallenberg มูลนิธิที่สนับสนุนการวิจัยในระดับองค์กรที่เชื่อมโยงงานวิจัยให้สามารถขยายผลเชิงพาณิชย์ บ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการ

เพิ่มเติม
About Ines > https://www.kth.se/profile/ineslo
https://www.digitalfutures.kth.se/
https://www.wallenberg.com/
https://www.kth.se/en/om/innovation/kth-innovation-1.956839

Business Sweden
งานเสวนาปิดท้ายด้วยคุณ Marie Claire Maxwell, Program manager digital technology จาก Business Sweden ซึ่งได้กล่าวว่า Business Sweden พร้อมส่งเสริมความร่วมมือไทย-สวีเดน เช่น การแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่าง Startups สวีเดนและ corporates ไทยได้ รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริม Startup ไทย ที่ต้องการ Scale up โดยใช้สวีเดนในการเป็นฐานเพื่อขยายสู่ยุโรป พร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นว่า Impact Startup ที่เน้นการแก้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์ SDG Goal เป็นกลุ่ม startup ที่เป็นที่ต้องการของตลาดในสวีเดนและนอร์ดิก

ปิดท้ายงานด้วยการนำชม Epicenter ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานเสวนา โดยคุณ Edgar Luczak ผู้ร่วมก่อตั้ง Epicenter เป็นผู้พาชม
เกี่ยวกับ Epicenter
มากกว่า Co-working Space สู่การสร้าง Ecosystem แห่งนวัตกรรม

Epicenter เป็นบริษัทเอกชนที่มีเป้าหมายในการผลักดัน Swedish entrepreneurial ecosystemให้เติบโตทั้งในและนอกประเทศ ถือเป็น Digital innovation house แห่งแรกในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย มีสาขาในสตอคโฮล์ม ออสโล และเฮลซิงกิ ให้บริการทั้งเป็น co-working space สถานที่จัดงานประชุม ไปจนถึงการให้คำปรึกษาแก่บริษัทเอกชน และจัดทำโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ผ่านมา Epicenter ทำงานกับหลายองค์กร จากหลายประเทศ ตัวอย่างจากฝั่งเอเชีย มีกิจกรรมที่ทำร่วมกับ Enterprise Singapore และ Korean Startup Center เป็นต้น
นอกจากนี้ Epicenter ยังมีโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจคือการร่วมมือกับบริษัทขนาดใหญ่สร้าง Corporate innovation โดยที่ผ่านมาสัดส่วนนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำร่วมกับ Epicenter มีการนำไปใช้จริงมากกว่า 20% ซึ่งถือว่าเป็น Success rate ที่เกินค่ามาตรฐาน
เพิ่มเติม > https://weareepicenter.com/stockholm/
ติดตามข่าวสารพัฒนานวัตกรรมไทย-นอร์นดิกสู่ความยั่งยืน
Facebook : https://www.facebook.com/TNIUThailandNordicInnovation/