
บริษัท Westenergy เป็นโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะที่ปลอดมลพิษที่ใหญ่เป็นลำดับ 2 ของฟินแลนด์ตั้งอยู่ใน เมือง Vaasa ฟินแลนด์โรงงานแห่งนี้นำขยะผสมหรือ mixed waste ที่ไม่สามารถนำมาหมุนเวียนกลับไปใช้งานใหม่ (recycle) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยการเผาขยะในเตาเผาขยะ (incineration) และนำความร้อน (heat) ที่ได้มา ใช้กับหม้อต้มน้ำ (boiler) โดยไอน้ำที่มีความร้อนสูงมากจะวิ่งผ่านกังหันไอน้ำและเข้าสู่เครื่องปั่นไฟ (generator) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่งผ่านโครงข่ายส่งและจ่ายกระแสไฟฟ้าของเมือง (grid) และอีกส่วนหนึ่งจะส่งเข้าท่อ กระจายความร้อนเพื่อเป็นพลังงานความร้อนและกระแสไฟฟ้าให้แก่ชุมชน (district heat & electricity)

โรงงาน Westenergy ใช้ขยะประมาณ 190,000 ตัน ต่อปีที่นำมาเผารวม ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ถึง 15 เมกะวัตต์และไอความร้อน 55 เมกะวัตต์ โดยเถ้าขยะที่โดนเผาแล้วยังสามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการสร้างถนนได้ถึง 30,000 ตันต่อปี และมีระบบกำจัดสารพิษหรือสิ่งเจือปนในน้ำหรือไอน้ำออกไปถึง 99% โดยใช้ พนักงานเพียง 35 คน เพื่อควบคุมการทำงานทั้งโรงงาน (การเผาไหม้จะดำเนินการต่อเนื่องตลอดเวลา)
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนจะทำระบบกำจัดหรือดักจับคาร์บอนฯ (Co2) จากชั้นบรรยากาศมากกว่าที่ปล่อย ออกมาให้แล้วเสร็จภายในปี 2030 โดยจะนำคาร์บอนฯ ที่ดักจับไปใช้ในการผลิตก๊าซมีเทน เพื่อใช้ในภาคการขนส่ง โดยเฉพาะการเดินเรือ

นอกจากนี้ ในเมือง Vaasa เมืองคลัสเตอร์ทางด้านพลังงานจากประเทศฟินแลนด์ ยังมีบริษัท Stormsossen ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงงานแปรรูปขยะที่เปลี่ยนแปลง ขยะชีวภาพ (biowaste) ให้เป็น bio-gas โรงงานจะสลายขยะชีวภาพภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนโดยมีองค์ประกอบ หลักคือก๊าซมีเทน ทั้งนี้ bio-gas จะนำไปใช้ในก๊าซที่เติมรถบัสโดยสารของเมือง Vaasa รวมถึงก๊าซหุงต้ม (flue gas) สำหรับใช้ในครัวเรือน และระบบการทำความร้อนให้ภาคครัวเรือนในเมือง ส่วนกากขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไหม้ ก็นำไปใช้เป็นปุ๋ย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินการจัดการด้านขยะอย่างครบวงจร อาทิ การรับขยะทุกประเภท ทั้ง ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะชีวภาพ พาสติก ไม้ และอื่นๆ โดยรถที่นำขยะมาทิ้งจะต้องชำระเงินให้กับ บริษัทฯ แต่บริษัทฯ แลกเปลี่ยนเป็นก๊าซโดยเติมให้แก่รถคันนั้นแทน ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ carbon sink และเศรษฐกิจไฮโดรเจนอย่างครบวงจร (เพิ่มการจัดเก็บ carbon dioxide storage แล้วแปรรูปเป็น hydrogen gas โดยกระบวนการ electrolysis)
ขยะประเทศไทย
ในสภาวะวิกฤติพลังงานโลกและปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของไทย (จากข้อมูลของกรม ควบคุมมลพิษ พบว่าไทยสร้างขยะมากกว่าปีละ 27 ล้านตัน โดยรัฐบาลไทยต้องเสียเงินค่าอุดหนุนในการจัดการขยะถึง 17,200 ล้านบาท) การผลิตพลังงานจากขยะน่าจะเป็นทางเลือกที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อสิ่งแวดล้อมและ ชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดีกว่าการใช้พลังงานฟอสซิลอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ เห็นว่า การผลิตพลังงานจากขยะจะช่วยลดภาระการกำจัดขยะและลดภาวะโลกร้อนจากการฝังกลบ ตลอดจนการ แพร่พันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุงและการสะสมของเชื้อโรค ซึ่งสอดรับกับแผนพัฒนาพลังงาน ทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 ของไทย
ชมคลิปจากเถื่อน Travel “แยกขยะชีวิตเปลี่ยน” โดยคุณวรรณสิงห์ระบุว่า การจัดการขยะที่ดีไม่ใช่การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน แต่ที่ดีที่สุดคือการลดที่ต้นทาง Reduce, Reuse, Recycle และสิ่งสำคัญต้องคำนึงจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีแบบรอบด้าน
ทั้งนี้ ฟินแลนด์สามารถเป็นต้นแบบแนวทางปฎิบัติในเรื่อง Circular Economy ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง “การวางแผนและการดำเนินการที่เป็นระบบ/ครบวงจร” กล่าวคือฟินแลนด์มีการวางแผนล่วงหน้าตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำในการสร้างระบบกำจัดขยะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนในการคัดแยกขยะ โดย เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ – ภาคเอกชน- ประชาชน (Public-Private-People Partnership) ซึ่งเป็นแนวคิด ให้เกิด smart city อย่างแท้จริง และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าหรือผู้ผลิตรายย่อยที่จะไม่ต้อง ยึดโยงรายได้อยู่กับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่สามารถให้ประชาชนสามารถสั่งซื้อไฟฟ้าจาก ผู้ผลิตได้โดยตรง

ขอบคุณข้อมูลจาก สอท. กรุงเฮลซิงกิ