ต้นแบบธนาคารรักษ์โลก Åland Bank แห่งฟินแลนด์

เรียนรู้กลยุทธ์ Green Banking business กับธนาคาร Åland ธนาคารเอกชนรักษ์โลก อันดับ 1 จากฟินแลนด์ 

เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ ได้พบกับนาง Maud Johans หัวหน้าฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และสนับสนุนการตลาด ธนาคารโอแลนด์ (Åland Bank) ธนาคารเอกชนอันดับ 1 ของฟินแลนด์  การส่งเสริมระบบการเงินและการธนาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบฉบับฟินแลนด์ จะเป็นอย่างไร? สอท. กรุงเฮลซิงกิและ TNIU ได้สรุปมาให้คุณแล้ว (อ่านต่อด้านล่าง)

Highlights

เกี่ยวกับธนาคาร Åland

ธนาคาร Åland สมัย ค.ศ. 1939-1945

ธนาคารโอแลนด์ (Åland Bank) ก่อตั้งมาแล้วกว่า 100 ปี (ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1919) โดยกลุ่มชาวประมงท้องถิ่น ที่เกาะ Ålands Islands (เกาะที่ปกครองโดยฟินแลนด์แต่พูดภาษาสวีเดน) รายล้อมไปด้วยทะเลบอลติก ซึ่งภายใต้ทะเลที่ดูเหมือนสงบและสวยงามนี้ จริงๆแล้วเป็นหนึ่งในทะเลที่ ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในโลก เช่นกัน จากมลพิษขยะทางอุตสาหกรรมและการเกษตร ทำให้เหล่าปลาและคุณภาพชีวิตทางน้ำเสื่อมถอยลง 

ด้วยเหตุนี้ธนาคารโอแลนด์ ในฐานะสถาบันการเงิน จึงต้องเร่งมือสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น คิดค้นกลยุทธ์ส่งเสริมการพัฒนาสู่ความยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นพันธกิจหลัก

ปัจจุบันธนาคาร Åland ได้ขึ้นแท่นเป็นธนาคารเอกชนอันดับ 1 ในภูมิภาคมีสาขาใหญ่ตั้งในฟินแลนด์ สวีเดนและโอแลนด์ รวม 30 สาขา มีพนักงานรวม 900 คน และมียอดรวมลูกค้าที่ทำธุรกรรมมากกว่า 40 ล้านคน (มีลูกค้าที่ใช้ application บัญชีธนาคารโอแลนด์รวม 90,000 ราย) และขึ้นชื่อว่าเป็นต้นแบบของธนาคาร “Green banking”

กลยุทธ์และแรงจูงใจสู่ความยั่งยืน

ธนาคารฯ มีแนวทางจูงใจให้ภาคธุรกิจอื่นๆ ลงทุนผลักดันนโยบายแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน (Climate neutral และ Net-Zero goals) เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2030 ดังนี้: 

1.ออกนโยบายหนี้สีเขียว (Green Debt)

ตามกรอบแนวคิดสินเชื่อสีเขียว (Green loans) และการเงินสีเขียว (Green Finance) โดยยึดหลักการ Green Bond Principles ของ International Capital Markets Association​ ทั้งนี้ รายได้สุทธิของตราสารหนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ออกโดยธนาคารจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหรือ Refinance สินทรัพย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (green asset) ที่ได้รับการประเมินคัดเลือกจากธนาคารฯ (ทั้งนี้ หากยังมีหนี้สีเขียวคงค้างอยู่ ธนาคารฯ จะแสดงไว้ในรายงานหนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรายปีอย่างต่อเนื่อง)

2.จับมือ Fintech บัตรเครดิตรักษ์โลก 

ธนาคารโอแลนด์ได้ร่วมกับ Doconomy  – Fintech จากสวีเดนที่มี Mastercard ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และได้ร่วมมือกับ UN Climate Change เพื่อผลิต The Baltic Sea card หรือบัตรเครดิต/เดบิต ‘ทะเลบอลติก’ ซึ่งเป็นบัตรทางการเงินใบแรกของโลกที่ทำจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ร่วมกับดัชนีโอลันด์ (Åland Index Solutions) ดัชนีที่มีผู้ใช้แล้วกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก โดยจุดเด่นคือมีการคำนวน “Impact calculations” สร้างความตื่นรู้ด้านการปริมาณการปล่อยปล่อยแก๊ซคาร์บอน ทำให้พฤติกรรมการบริโภคโปร่งใสมากขึ้น นอกจากคาร์บอนแล้ว ปัจจุบันหน่วยงานได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่คือ การคำนวนด้านน้ำ (CO2+H2O) เพื่อขยายฐานความพยายามขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน 

ข้อดีของบัตรนี้คือสามารถเก็บข้อมูลพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมาคำนวณการปล่อยคาร์บอนฯ และก๊าซเรือนกระจกของผู้บริโภคในแต่ละวัน และสรุปเป็นรายเดือนได้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูล เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของตนให้รักษาสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคเลือกสนับสนุนองค์กรที่ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น เงินส่วนหนึ่งธนาคารจะนำไปช่วยสนับสนุนโครงการต่างๆ เพื่ออนุรักษ์ พัฒนาคุณภาพทะเลบอลติกต่อไป ซึ่งปัจจุบันสนับสนุนไปได้แล้วกว่า €4.4 ล้านยูโร

ปัจจุบัน Bank of the West ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นธนาคารย่อยของ BNP Paribas Bank และ Nordea Bank ได้นำดัชนีโอลันด์ไปปรับใช้กับลูกค้าของตนเช่นกัน ซึ่งในอนาคตจะสามารถครบคลุมลูกค้าทั่วโลกกว่า 36 ล้านคน 

ทั้งนี้ Bank of the West ยังได้ประกาศจำกัดการให้สินเชื่อโครงการที่จะส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมโลก และจะสนับสนุนให้สินเชื่อที่มีผลเป็นการเร่งเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งอาศัยการประเมินด้วยบนพื้นฐานดัชนี Åland index

3.ลงทุนเพื่อโลก – Green Energy 

ธนาคารโอแลนด์ยังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนแหล่งผลิตพลังงานทางธรรมชาติโดยกระแสลมที่ตั้งอยู่ในเกาะ (offshore wind power) เพื่อทดแทนและลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลและแร่ธาตุจำเป็น (critical raw material – CRM) ทั้งนี้ พลังงานลมคิดเป็นร้อยละ 90 ของการผลิตไฟฟ้าของเขตการปกครองพิเศษฯ โดยโอแลนด์ใช้ 2 แนวทางหลักในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดคือ พลังงานจากกระแสลมโดยฟาร์มกังหังลมและพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ (ในฤดูร้อนที่มีแสงอาทิตย์ยาวนาน) ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตัวอย่างโครงการคือ Noatun South และ Noatun North จากบริษัท OX2 จากสวีเดนได้สร้างความร่วมมือติดตั้งโครงการนี้ที่ทางตอนเหนือของเมือง Åland เป็นที่ตั้ง Mega Green Harbor อ่านต่อเพิ่มเติม

จุดยืนฟินแลนด์ด้าน Green Finance

จากรายงานผลการสำรวจของ Global Green Finance Index (GGFI ปี 2022  ได้จัดอันดับให้ฟินแลนด์อยู่ในลำดับที่ 24 ของโลกในฐานะศูนย์กลางการเงินด้านการเงินสีเขียวโลก โดยพิจารณาจากความพร้อมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความยั่งยืน ด้านธุรกิจ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งภาคการเงินและการธนาคารต่าง ๆ ของไทยสามารถพิจารณาศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีของภาคการเงินและการธนาคารของฟินแลนด์ โดยเฉพาะดัชนีโอลันด์ (Åland Index Solutions) นอกจากนี้ รัฐบาลฟินแลนด์ได้จัดทำรายงาน Working group on financing the green transition ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย


ในส่วนของประเทศไทยที่ก็กำลังตื่นตัว เป็นผู้เล่นสำคัญในการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าตอนนี้เราจะเป็นผู้เล่นในส่วนไหน หรือตำแหน่งอะไร การเริ่มต้น ‘เลือก’ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญสร้างการเปลี่ยนแปลง

ติดต่อ TNIU เพื่อร่วมแสวงหาเครือข่ายในการออกนโยบายและกฎเกณฑ์ขับเคลื่อนนวัตกรรมไทย-นอร์ดิก สู่ความยั่งยืน

Facebook:  TNIU-Thailand and Nordic Countries Innovation Unit

%d bloggers like this: