Episode 1: ระบบนิเวศทางนวัตกรรมสวีเดน
สวีเดนเป็นหนึ่งในผู้นำในด้านนวัตกรรมของโลก โดยในปี 2022 มีคะแนน Innovation Index สูงมากเป็นอันดับหนึ่งของยุโรป ผู้เล่นสำคัญในการผลักดันความสำเร็จทางนวัตกรรมนี้คือ “Vinnova”
สรุปบทสัมภาษณ์นักวางกลยุทธ์นวัตกรรมชาติสวีเดนจาก Vinnova สำนักนวัตกรรมแห่งชาติของสวีเดน
คุณ Kjell Håkan Närfelt: Chief Strategy officer
คุณ Ylva Strander: Head of Department, Systems transformation and Policy, Innovation Management
Vinnova คือ?
สำนักนวัตกรรมแห่งชาติของสวีเดน อยู่ภายใต้กระทรวงวิสาหกิจ โดยยึดหลักพัฒนานวัตกรรมแบบเป็นระบบ แทนการพัฒนาแบ่งแยกส่วน ส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพและความร่วมมือ
เร็วๆนี้ จะมีการรวมตัวกัน ระหว่างกระทรวงวิสาหกิจที่ Vinnova อยู่ภายใต้ และกระทรวงสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันเกิดมาเป็นกระทรวงใหม่ คือ “กระทรวงวิสาหกิจและสภาพอากาศ”
โดยเชื่อว่าแนวคิดเบื้องหลังคือเพื่อสร้างให้เกิดการผลักดันนโยบายได้อย่างคล่องตัวและสอดคล้องกันเพื่อนำไปสู่ Circular economy เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน น่าจับตามองมากเพราะเมื่อนวัตกรรมกับสิ่งแวดล้อมมารวมตัวกัน จะเกิดอะไรดีๆ ขึ้นบ้าง …
การทำงานของ Vinnova
สิ่งเหล่านี้เป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่ยกระดับบริษัทสวีเดนให้แข็งแกร่งขึ้น ด้วยความแข็งแกร่งของระบบนิเวศ เฉกเช่นธรรมชาติที่หากมีระบบนิเวศที่ดี สิ่งมีชีวิตในนั้นก็จะสมบูรณ์มากขึ้นตามไปด้วย นอกจากเพิ่มศักยภาพการแข่งขันแล้วช่วยพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Vinnova คลิก : https://www.vinnova.se/en/
.
นอกจากนี้ Vinnova เปิดให้ทุนนวัตกรรมตลอดทั้งปี สำหรับโครงการทั้งในประเทศและนานาชาติ
สามารถติดตามได้ที่:https://www.vinnova.se/sok-finansiering/hitta-finansiering/
แต่เดิมที่มุ่งเน้นพัฒนาด้านการเติบโต หรือพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมทั้งด้านสินค้าบริการ ปัจจุบันเปลี่ยนแนวคิดใช้นวัตกรรมแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดต่างๆในสังคม มาสู่การหาทางออกแบบยั่งยืน ซึ่งต้องมองที่ 'ตัวระบบ (System Innovation)' เพราะสิ่งที่ต้องเปลี่ยนคือรูปแบบแพทเทิร์นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมทางสังคม กระบวนการผลิต ฯลฯ เพื่อให้สามารถจัดการกับความท้าทายระดับสังคม
โดย Vinnova พัฒนามาไกลจนเป็นผู้นำสำนักนวัตกรรมอันดับต้นของโลก โดยเฉพาะด้านการประเมินนโยบายที่ 'ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสังคมที่ซับซ้อน' ทั้งนี้ก็อยู่ในการประยุกต์ เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และการลองผิด-ถูก กล้าปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ในการสนับสนุนนวัตกรรมในแต่ละปี
โดยเฉพาะ 'นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)' เช่น ด้านไฟฟ้า เมืองยั่งยืน สุขภาพ สังคมสูงวัย ปัญหาทางจิต โรคอ้วน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยการมองภาพกว้างในการจัดการ
ปัจจุบันบริษัทในสวีเดนไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก เห็นถึงโอกาสมากมายจากการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเพื่อสุขภาพสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มี Impact Startup เพิ่มขึ้นมากมายและการลงทุนในด้านนี้ก็มากขึ้นเช่นกัน สุดท้ายแล้วไม่ใช่เพียงเพราะ Vinnova ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเพียงอย่้างเดียว แต่กลายเป็นบริษัทต่างๆขับเคลื่อนเร็วกว่านโยบาย
อ่านเหตุผลว่าทำไมสวีเดนถึงเป็น 'บ้าน' สำหรับ Impact Startups ?
การวัดค่าประเมินผล Impact ไม่ใช่แค่เดินตามเป้า UN SDGs 2030 ที่โฟกัสเท่านั้น แต่สิ่งที่ควรทำคือ การย้อนกลับไปดูว่าเราได้สร้างความยั่งยืนตั้งแต่ระดับห่วงโซ่คุณค่าองค์กร (Value Chain) แล้วหรือยัง และมีการทำงานอย่างไรบ้าง ผู้บริโภคของเรา โมเดลธุรกิจ กระบวนการการผลิต หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน โดยเราสร้าง National Incubator program ที่ทำงานร่วมกันกับ Incubator และมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อพัฒนา Sustainable readiness ที่ประเมินความยั่งยืนตั้งแต่กระบวนการพัฒนาธุรกิจ
ปัจจุบัน EU มีการกำหนดอย่างเคร่งครัดมากขึ้นให้มีการรายงาน ESG Report (Environment Social Governance) ซึ่งบางบริษัททำแต่ Report แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสร้าง Impact อย่างแท้จริง (Green Washing) สิ่งสำคัญคือการต้องมีมาตรฐานในการวัดผล ซึ่งตอนนี้ทาง Vinnova ก็ร่วมกับ ภาคการเงิน เพื่อสร้างแบบประเมินความยั่งยืนให้มีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้ การวัดค่าประเมินผลต่างๆ สำหรับสตาร์ทอัพอาจไม่สามารถใช้เครื่องมือเดียวกันแบบบริษัทขนาดใหญ่เนื่องจากสตาร์ทอัพ จึงต้องปรับการวัดที่ตรงกับโฟกัสของแต่ละรูปแบบบริษัท
1. การพัฒนาระบบนิเวศความร่วมมือในระดับท้องถิ่น (Coordinated ecosystem development)
ส่งเสริม ช่วยกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วม สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีทั้งภายในและภายนอกให้กับองค์กร พัฒนาศักยภาพองค์กร มองเป็นระบบเพื่อสร้าง Paying-it-forward culture ให้พวกเขาสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ความมั่งคั่ง และศักยภาพการแข่งขัน ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และพัฒนา
2.การสร้างช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับบริษัท Deep Tech เพราะบริษัทเหล่านี้เป็นสิ่งใหม่ในการช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืนบนพื้นฐานหลักวิทยาศาสตร์หรือหลักวิศวกรรม แต่ต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นอย่างมากในการค้นคว้าวิจัย และต้องพัฒนาอย่างเป็นระบบ
3.การผสานระหว่างเก่า -ใหม่ (Old-new) สร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทที่ก่อตั้งมานานแล้ว และบริษัทใหม่ เพราะทุกคนจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน บริษัทที่ก่อตั้งมาแล้วสามารถได้รับการทดลองใหม่ๆ อย่างรวดเร็วกับบริษัทใหม่ หรือ Startups ขณะเดียวกัน Startups ก็สามารถได้ทุนสนับสนุนในการพัฒนาหรือขยายเข้าสู่ตลาดในวงกว้างขึ้น
4.การเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อส่งเสริม Game changing Innovation (System Disruption) จะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทใหญ่และเล็กที่มาสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบใหญ่ ตัวอย่างบริษัท Oatly บริษัทเครื่องดื่มนมโอ้ต ที่ใช้เวลาต่อสู้มายาวนานกว่าจะได้รับการเป็นที่ยอมรับให้เรียกว่าเป็นน้ำนมชนิดหนึ่ง และได้รับความนิยมที่แข่งขันได้กับนมวัว ต้องการ ชี้ให้เห็นว่าบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ได้ชนะเสมอไป
Credit ภาพจาก : Oatly
5.การส่งเสริมภาครัฐสร้างนวัตกรรม เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฏข้อบังคับต่างๆได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยผู้ตั้งกฏในภาคส่วนอื่นๆ เช่นนโยบายพลังงานใหม่ ก็ต้องอาศัยทั้งภาคสิ่งแวดล้อม ภาคคมนาคมทำงานร่วมกันซึ่งพวกเขาไม่คุ้นชินที่มองว่าตัวเองเป็นนักนวัตกร สิ่งที่ Vinnova ทำได้คือการทดลองนโยบายหรือข้อกำหนด (policy lab) ว่าเป็นการสนับสนุนหรือฉุดรั้งนวัตกรรมอย่างไร ก่อนเสนอให้มีการบังคับใช้จริง โดยเฉพาะเมื่อมาจากข้อกำหนดของ EU ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบในอนาคต
6.ควรสนับสนุนให้มีการจัดซื้อจัดจ้างนวัตกรรมมากขึ้น (Innovation Procurement) จ่ายเงินเพื่อนวัตกรรม คือการซื้อในสิ่งที่ยังไม่เคยมีอยู่ แต่เป็น “การซื้ออนาคตที่เราอยากจะเห็น” โดยภาครัฐสามารถซื้อนวัตกรรมเพื่อสร้างความต้องการอุปสงค์ สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ในปัจจุบันการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐสวีเดน 90% จะเป็นซื้อจ้าง ส่วน 10% จะเป็นนวัตกรรม
ในทางกลับกัน จริงๆแล้วควรปรับเป็น 10% ซื้อจ้าง และ 90% ให้เป็นนวัตกรรม
ซึ่งจะทำได้ต้องอาศัยกระบวนการร่วมกันสร้าง เพื่อเปลี่ยนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ
7.ความเป็นอิสระมากเกินไปของอุตสาหกรรมสวีเดน จนบางทีก็คิดว่าการที่มีระบบ Top-Down บ้างจะสามารถช่วยสร้างเครือข่ายได้ชัดเจนและง่ายในการสร้างความร่วมมือ
8.ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทั้งสวีเดนกับไทย ไม่ได้มีทรัพยากรมากสำหรับ Green transition เหมือนกับประเทศขนาดใหญ่ เราจึงจำเป็นต้องเท่าทันและดึงดูดความสนใจจากภายนอกประเทศ และไม่พึ่งพาเพียงแต่รัฐบาลเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนารายย่อยในประเทศ
ทั้งนี้นโยบายสหประชาชาติยุโรป EU มุ่งสร้างสภาวะอากาศให้ดีขึ้น เป็นสัญญาณว่าเงินมหาศาลจะไปสู่การลงทุนเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสการสร้างความร่วมมือด้วยเป้าหมายเดียวกัน
สวีเดนก็มีการเตรียมพร้อมศักยภาพและมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทางด้านนวัตกรรม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่หันมาใส่ใจประเด็นความยั่งยืนมากขึ้น สร้างบริษัท Impact Startups มากขึ้นจนกลายเป็นเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นผลดีต่อสังคม ดังตัวอย่างด้านล่าง
โดยทั้งคุณ Ylva Starder และ คุณ Kjell เชื่อว่าจะมีโอกาสในการร่วมมือกันระหว่างบริษัทไทย-สวีเดนเป็นแน่ในอนาคตอันใกล้
TNIU Podcast #Episode1: Sweden's Innovation Ecosystem
ขอบคุณ Vinnova คุณ Kjell Håkan Närfelt คุณ Ylva Strander สำหรับข้อมูลดีๆ และผู้อ่านทุกท่าน
ติดตามอ่านข่าวกรุงเทพธุรกิจ: คณะกรรมการสำนักนวัตกรรมแห่งชาติไทย (NIA) ลงพื้นที่ศึกษากลยุทธ์ปั้นนวัตกรรมสวีเดน และได้มีโอกาสเข้าพบกับ Vinnova เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม
.
ติดตามกดไลค์เพจ Facebook: TNIU Thailand-Nordic Countries Innovation Unit อัพเดทข่าวสารด้านการพัฒนานวัตกรรม ไทย-นอร์ดิกสู่ความยั่งยืน
Copyright © All Rights Reserved